Artwork

Content provided by TK Park. All podcast content including episodes, graphics, and podcast descriptions are uploaded and provided directly by TK Park or their podcast platform partner. If you believe someone is using your copyrighted work without your permission, you can follow the process outlined here https://player.fm/legal.
Player FM - Podcast App
Go offline with the Player FM app!

ComingToTalk EP.57 ‘ลำพูนซิตี้แล็บ’ ผสานไอเดียสร้างสรรค์ ผนึกพลังพลเมือง ทำลำพูนให้น่าอยู่

52:53
 
Share
 

Manage episode 345697730 series 3038815
Content provided by TK Park. All podcast content including episodes, graphics, and podcast descriptions are uploaded and provided directly by TK Park or their podcast platform partner. If you believe someone is using your copyrighted work without your permission, you can follow the process outlined here https://player.fm/legal.
ลำพูน หรือ “หละปูน” เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดของภาคเหนือ อายุกว่า 1,400 ปี ในอดีตเคยมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูง รู้จักกันในชื่อ ‘นครหริภุญไชย’ กล่าวกันว่านี่คือเมืองซึ่งถือเป็นอิฐก้อนแรกของการวางรากฐานความเจริญในด้านต่างๆ ให้กับเมืองอื่นของอาณาจักรล้านนาในเวลาต่อมา . ปัจจุบัน ความเป็นเมืองแฝดที่อยู่ใกล้กับเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่ ทำให้การพัฒนาความเจริญ (รวมทั้งปัญหา) ถ่ายเทไปยังเชียงใหม่ คนหนุ่มสาวในลำพูนไหลออกไปแสวงหาโอกาสที่มีมากกว่านอกจังหวัด จนเหลือคนสูงวัยเป็นประชากรหลัก ครอบครัวเงียบเหงา เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลำพูนเป็นจังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ . ทั้งที่มีสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานค่อนข้างดี ขาดเพียงการเชื่อมโยงทรัพยากรและจุดแข็งของเมืองมาบูรณาการเข้ากับไอเดียสร้างสรรค์ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ ไชยยง รัตนอังกูร และ อัญมณี มาตยาบุญ ผู้ซึ่งมีพื้นเพเป็นชาวลำพูนโดยกำเนิด ร่วมกันดัดแปลงร้านขายเครื่องเขียนเก่า ริมถนนหลังวัดพระธาตุหริภุญไชย เปิดร้านกาแฟชื่อ Temple House Lamphun เพื่อให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์บอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจของเมือง ผ่านอาหาร เครื่องดื่ม งานดีไซน์ และแกลเลอรีศิลปะ . ที่น่าสนใจคือบริเวณชั้น 2 ของร้าน นอกจากจะใช้เป็นพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะและกิจกรรมต่างๆ แล้ว ยังเป็นออฟฟิศของ ‘ลำพูนซิตี้แล็บ’ (Lamphun City Lab) บริษัทกิจการนวัตกรรมเพื่อสังคมและฟื้นฟูเมืองลำพูน ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนักคิด นักสร้างสรรค์ และสถาปนิก ที่ตั้งใจอยากเปลี่ยนแปลงลำพูนให้เป็นเมืองที่มีชีวิตชีวา ทีมงานหลักนอกจาก ไชยยง อดีตผู้อำนวยการ TCDC และบรรณาธิการนิตยสาร Wallpaper กับอัญมณี สถาปนิกรุ่นใหม่ ผู้เชี่ยวชาญงานสรุปประเด็นด้วยภาพ (Visual Note Taking) แล้ว ยังได้ ดร.สิงห์ อินทรชูโต อาจารย์ สถาปนิก และนักเขียน มาเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญ . ลำพูนซิตี้แล็บ มีบทบาทในการเชื่อมประสานหน่วยงานทั้งรัฐ เอกชน และชุมชน โดยเข้าไปเติมเต็มเพื่อให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และออกแบบกระบวนการจัดทำโครงการที่คำนึงถึงประโยชน์และยึดโยงกับความต้องการของชุมชนเป็นสำคัญ เน้นให้มีการใช้ทรัพยากรตลอดจนงบประมาณอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด . กิจกรรมสำคัญที่ผ่านมา เช่น งาน River Festival Lamphun นิทรรศการ Possible Lamphun เฟซบุ๊กเพจ People of Lamphun และงานล่าสุดที่กำลังร่วมดำเนินการกับทางจังหวัดคือโครงการพัฒนาศาลากลางจังหวัดลำพูนหลังเก่า มีการระดมความคิดจากคนลำพูนมาช่วยกันคิด ร่วมกันออกแบบ และนำเสนอไอเดียความเป็นไปได้ เพื่อให้ชาวลำพูนใช้ประโยชน์จากพื้นที่แห่งนี้ได้มากที่สุด . ฟังเรื่องราวของ ลำพูนซิตี้แล็บ และแนวคิดของผู้ร่วมผลักดันการสร้างสรรค์เมืองแห่งนี้ให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของโลก
  continue reading

271 episodes

Artwork
iconShare
 
Manage episode 345697730 series 3038815
Content provided by TK Park. All podcast content including episodes, graphics, and podcast descriptions are uploaded and provided directly by TK Park or their podcast platform partner. If you believe someone is using your copyrighted work without your permission, you can follow the process outlined here https://player.fm/legal.
ลำพูน หรือ “หละปูน” เป็นเมืองเก่าแก่ที่สุดของภาคเหนือ อายุกว่า 1,400 ปี ในอดีตเคยมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูง รู้จักกันในชื่อ ‘นครหริภุญไชย’ กล่าวกันว่านี่คือเมืองซึ่งถือเป็นอิฐก้อนแรกของการวางรากฐานความเจริญในด้านต่างๆ ให้กับเมืองอื่นของอาณาจักรล้านนาในเวลาต่อมา . ปัจจุบัน ความเป็นเมืองแฝดที่อยู่ใกล้กับเมืองใหญ่อย่างเชียงใหม่ ทำให้การพัฒนาความเจริญ (รวมทั้งปัญหา) ถ่ายเทไปยังเชียงใหม่ คนหนุ่มสาวในลำพูนไหลออกไปแสวงหาโอกาสที่มีมากกว่านอกจังหวัด จนเหลือคนสูงวัยเป็นประชากรหลัก ครอบครัวเงียบเหงา เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลำพูนเป็นจังหวัดที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ . ทั้งที่มีสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานค่อนข้างดี ขาดเพียงการเชื่อมโยงทรัพยากรและจุดแข็งของเมืองมาบูรณาการเข้ากับไอเดียสร้างสรรค์ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ ไชยยง รัตนอังกูร และ อัญมณี มาตยาบุญ ผู้ซึ่งมีพื้นเพเป็นชาวลำพูนโดยกำเนิด ร่วมกันดัดแปลงร้านขายเครื่องเขียนเก่า ริมถนนหลังวัดพระธาตุหริภุญไชย เปิดร้านกาแฟชื่อ Temple House Lamphun เพื่อให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์บอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจของเมือง ผ่านอาหาร เครื่องดื่ม งานดีไซน์ และแกลเลอรีศิลปะ . ที่น่าสนใจคือบริเวณชั้น 2 ของร้าน นอกจากจะใช้เป็นพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะและกิจกรรมต่างๆ แล้ว ยังเป็นออฟฟิศของ ‘ลำพูนซิตี้แล็บ’ (Lamphun City Lab) บริษัทกิจการนวัตกรรมเพื่อสังคมและฟื้นฟูเมืองลำพูน ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของนักคิด นักสร้างสรรค์ และสถาปนิก ที่ตั้งใจอยากเปลี่ยนแปลงลำพูนให้เป็นเมืองที่มีชีวิตชีวา ทีมงานหลักนอกจาก ไชยยง อดีตผู้อำนวยการ TCDC และบรรณาธิการนิตยสาร Wallpaper กับอัญมณี สถาปนิกรุ่นใหม่ ผู้เชี่ยวชาญงานสรุปประเด็นด้วยภาพ (Visual Note Taking) แล้ว ยังได้ ดร.สิงห์ อินทรชูโต อาจารย์ สถาปนิก และนักเขียน มาเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญ . ลำพูนซิตี้แล็บ มีบทบาทในการเชื่อมประสานหน่วยงานทั้งรัฐ เอกชน และชุมชน โดยเข้าไปเติมเต็มเพื่อให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และออกแบบกระบวนการจัดทำโครงการที่คำนึงถึงประโยชน์และยึดโยงกับความต้องการของชุมชนเป็นสำคัญ เน้นให้มีการใช้ทรัพยากรตลอดจนงบประมาณอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด . กิจกรรมสำคัญที่ผ่านมา เช่น งาน River Festival Lamphun นิทรรศการ Possible Lamphun เฟซบุ๊กเพจ People of Lamphun และงานล่าสุดที่กำลังร่วมดำเนินการกับทางจังหวัดคือโครงการพัฒนาศาลากลางจังหวัดลำพูนหลังเก่า มีการระดมความคิดจากคนลำพูนมาช่วยกันคิด ร่วมกันออกแบบ และนำเสนอไอเดียความเป็นไปได้ เพื่อให้ชาวลำพูนใช้ประโยชน์จากพื้นที่แห่งนี้ได้มากที่สุด . ฟังเรื่องราวของ ลำพูนซิตี้แล็บ และแนวคิดของผู้ร่วมผลักดันการสร้างสรรค์เมืองแห่งนี้ให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของโลก
  continue reading

271 episodes

All episodes

×
 
Loading …

Welcome to Player FM!

Player FM is scanning the web for high-quality podcasts for you to enjoy right now. It's the best podcast app and works on Android, iPhone, and the web. Signup to sync subscriptions across devices.

 

Quick Reference Guide