KnowledgeExchange EP. 51 ระบบนิเวศการเรียนรู้กับความเปลี่ยนแปลงของโลกการงานอาชีพและทักษะใหม่
MP3•Episode home
Manage episode 381446228 series 3038815
Content provided by TK Park. All podcast content including episodes, graphics, and podcast descriptions are uploaded and provided directly by TK Park or their podcast platform partner. If you believe someone is using your copyrighted work without your permission, you can follow the process outlined here https://player.fm/legal.
โลกเศรษฐกิจไทยในอนาคตกำลังมีความเปลี่ยนแปลงไปใน 3 รูปแบบ คือ โลกเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โลกเศรษฐกิจใส่ใจ ซึ่งเน้นเรื่องของสุขภาพกายและใจ และโลกเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเน้นการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม . โลกใหม่ต้องการแรงงานที่มีทักษะแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง คนจำนวนหนึ่งอาจตกงาน ในขณะที่บางงานเป็นที่ต้องการมากขึ้น เช่น นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ช่างซ่อมรถยนต์ไฟฟ้า ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ นักจิตวิทยา นักเทคนิคด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ นักการตลาดสีเขียว ฯลฯ การรู้ลึกเพียงศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป แรงงานในอนาคตจะต้องมีทั้งความรู้ลึก รู้กว้าง มีความสามารถในการวิเคราะห์และคิดเชื่อมโยง . TDRI ได้วิจัยถึงทักษะแรงงานที่ผู้ประกอบการทั่วประเทศต้องการ พบว่า นอกจากทักษะวิชาชีพแล้ว นายจ้างยังต้องการทักษะภาษาอังกฤษ ทักษะดิจิทัล ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ รวมทั้ง Soft Skill ต่างๆ เช่น ความสามารถในการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การมีความคิดสร้างสรรค์ การมีความเป็นมืออาชีพ และความสามารถในการปรับตัว . ในขณะที่ ผลการสำรวจของ World Economic Forum และ SEA พบว่า หนุ่มสาวในประเทศไทย 30% เชื่อว่าทักษะที่ตนเองมีอยู่สามารถใช้ได้ตลอดชีวิต สอดคล้องกับการสำรวจของ OECD ที่พบว่า เด็กไทยกว่า 40% ขาด Growth Mindset คือไม่เชื่อว่าสติปัญญาและความสามารถของตนเองเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งจะส่งผลให้คนรุ่นใหม่ไม่เห็นความจำเป็นในการปรับตัวหรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต . โจทย์ที่สำคัญของประเทศไทยคือ สถาบันการศึกษาไม่สามารถผลิตผู้เรียนให้มีทักษะตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นเพราะสถาบันการศึกษามีรายได้ส่วนใหญ่มาจากงบประมาณของรัฐ จึงไม่ต้องรับผิดรับชอบต่อการจัดการศึกษา และผู้เรียนขาดข้อมูลว่าสถาบันการศึกษาที่จะเลือกเรียนต่อ สามารถผลิตบัณฑิตที่มีงานทำในอัตรามากน้อยเพียงใด แนวทางในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ การสร้างความรับผิดรับชอบของสถาบันการศึกษาให้มีมากขึ้น และขยายโอกาสของคนไทยในการเข้าถึงการพัฒนาทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ . ฟัง… การบรรยายเรื่อง “ระบบนิเวศการเรียนรู้กับความเปลี่ยนแปลงของโลกการงานอาชีพและทักษะใหม่” บรรยายโดย ดร.เสาวรัจ รัตนคำฟู ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) บันทึกในโอกาสการประชุม TK Forum 2022 หัวข้อ “Learning City and Lifelong Learning Ecosystem”
…
continue reading
272 episodes